จัดทำกระบวนการ PSM อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
PSM (Process Safety Management) หรือ การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต คือ การจัดการให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง ผ่านมาตรการทางการจัดการ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมในการชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต รวมถึงการจัดเก็บ การออกแบบ การใช้ การผลิต การบํารุงรักษา การตรวจสอบ การทดสอบ และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงในเขตนิคมอุตสาหกรม
ปัจจัยดำเนินการ PSM ให้ประสบความสำเร็จ
การดำเนินการด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิต หรือ PSM ให้ประสบความสำเร็จมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอต่อการดำเนินการ PSM ดังนี้
- จัดงบดำเนินการเพื่อสนับสนุนกิจกรรมให้ได้ตามแผนงาน
- เตรียมงบประมาณดำเนินการ สำหรับความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ
- จัดสรรบุคลากร ให้ประสานงานด้านความปลอดภัยของการผลิต
เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้จัดทำกระบวนการ PSM อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้ แต่ทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย และตระหนักอยู่เสมอว่า ความปลอดภัยต้องมาก่อน
- การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Participation)
- ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Information : PSI)
- การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต (Process Hazard Analysis : PHA)
- ขั้นตอนการปฎิบัติงาน (Operting Procesdures : OP)
- การฝึกอบรม (Training)
- การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Managament : CSM)
- การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริ่มเดินเรื่อง (Pre-Startup Safety Review : PSSR)
- ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ (Mechanical Integrity : MI)
- การอนุญาตทำงานที่อาจทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ(Hot Work Permits) และการอนุญาตทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ (Non-Routine Work Permits)
- การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change : MOC)
- การสอบสวนอุบัติการณ์ (Incident Investtigation : II)
- การเตรียมความพร้อม
- การตรวจประเมินการปฎิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Audit : CA)
- ความลับทางการค้า (Trade Secrets) การให้บริการฝึกอบรมกับวิทยากรที่ขึ้นทะเบียนกับการนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้องค์กรผ่านการรับรองระบบ PSM